วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ท่ากระบี่กระบอง 12ไม้รำ

ชื่อไม้รำ 12 ไม้รำ

ไม้รำที่ 1 ลอยชาย                  ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู                  ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง                 ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก                    ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง        ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง          ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง 
ไม้รำที่ 8 สอยดาว                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 9 ควงแตะ                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 11 ลดล่อ                    ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง   
ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน               ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา

กติกาการแต่งกายมารยาท

เครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น แต่ที่สำคัญคือ นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็นเกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก 

        การคิดคะแนน แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้คือ

1. ประเภทเครื่องแต่งกาย (4 คะแนน)

         - แต่งแบบนักรบไทโบราณสมัยต่าง ๆ

         - แต่งแบบชาวบ้าน ทั้งโบราณและปัจจุบัน เช่น นุ่งกางเกงส่วนนุ่งผ้าโจงกระเบนด้วยผ้าพื้นหรือผ้าลาย ใส่เสื้อคอกลม แขนสั้น หรือแขนทรงกระบอก คาดผ้าตะเบงมาน ใส่ชุดม่อฮ่อม หรือกางเกงยาว เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าขาวม้าคาดเอว

         - แต่งแบบกีฬานิยม เช่น นุ่งกางเกงขาสั้น หรือขายาว ใส่เสื้อทีมหรือเสื้อธรรมดาแขนสั้นหรือยาว มีผ้าคาดเอวหรือไม่มีก็ได้ รองเท้าผ้าใบ และใส่ถุงเท้า

         การแต่งกายทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นต้องแต่งให้เหมือนกันทั้งคู่ นอกจากเรื่องสีแล้ว ต้องดูเรื่องความสะอาด เรียบร้อย รวมทั้งต้องสวมมงคล ทุกครั้งที่ออกแสดง

2. ประเภทรำ (10 คะแนน)

         - การถวายบังคม

         - การรำพรหมนั่ง หรือ พรหมยืน

         - ลีลาการรำ กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขัน รำเพียงเที่ยวเดียว ไม่ต่ำกว่า 2 ท่า และมีลีลาการรำที่เข้ากับจังหวะดนตรีและสวมบทบาทของการรำ เช่น ท่านาง ท่าลิง ซึ่งมีท่ารำอื่น ๆ อีก 12 ท่า คือ ท่าลอยชาย ท่าทัดหูหรือควงทัดหู ท่าเหน็บข้าง ท่าตั้งศอก ท่าจ้วงหน้าจ้างหลัง ท่าควงป้องหน้า ท่ายักษ์ ท่าสอยดาว ท่าควงแตะ ท่าแหวกม่าน ท่าลดล่อ และท่าเชิงเทียน

3. ประเภท การเดินแปลง (6 คะแนน) 

         เมื่อรำจบแล้วนั่งลง ก่อนออกเดินแปลง ผู้เข้าแข่งขันไม่ต้องถวายบังคม เพียงแต่แต่ไหว้น้อมรำลึกถึงครู อาจารย์ครั้งเดียว แล้วเริ่มรำพรหม หรือจะไม่รำก็ได้แล้วออกเดินแปลงเพียงเที่ยวเดียว

4. ประเภท การต่อสู้ (20 คะแนน)

         การต่อสู้ของแต่ละคู่ จะต้องมีเหตุผลสมจริง และถูกต้องตามหลักวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว และไม่เป็นการอนาจาร

-----------

กำหนดเวลาการแข่งขันกีฬากระบี่กระบอง

         การแข่งขันตั้งแต่ประเภท 2, 3 และ 4 กำหนดให้ใช้เวลาในการแข่งขันคู่ละ 7 นาที เมื่อนักกีฬาแสดงครบเวลา 6 นาที กรรมการจะกดกริ่งเตือน 1 ครั้ง เมื่อนักกีฬาแสดงต่อไปต่อไปจนครบเวลา 7 นาที กรรมการจะประกาศให้ทราบว่าหมดเวลาแล้ว แต่ถ้านักกีฬาแสดงเกินกำหนดเวลา 7 นาที กรรมการจะตัดคะแนนคู่นั้น 2 คะแนน จากคะแนนรวมในการตัดสิน

กรรมการผู้ตัดสินกีฬากระบี่กระบอง 


         ให้ใช้กรรมการผู้ตัดสิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิคราวละ 5 ท่าน จากสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีคะแนนตัดสินท่านละ 40 คะแนน

การให้คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

         - การแต่งกาย 4 คะแนน

         - การรำ 10 คะแนน

         - การเดินแปลง 6 คะแนน

         - การต่อสู้ 20 คะแนน

         รวม 40 คะแนน


         ให้นำคะแนนจากกรรมการผู้ตัดสินทั้ง 5 ท่าน มาตัดสินคะแนนที่ให้สูงที่สุด และตัดคะแนนต่ำที่สุดออก รวมคะแนนที่เหลือแล้วหารด้วย 3 ผลลัพธ์ที่ได้เป็นคะแนนของนักกีฬาคู่นั้นเมื่อเรียงลำดับแล้ว คู่ใดมีคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ และรองลงมาตามลำดับคะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน ให้พิจารณาดังนี้

         1. ให้ดูเฉพาะคะแนนการต่อสู้ ถ้าฝ่ายใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ

         2. ถ้าคะแนนการต่อสู้ยังเท่ากันอยู่ ให้ดูคะแนนการรำถ้าฝ่ายใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ

         3. ถ้าคะแนนการรำยังเท่ากันอยู่ให้ดูเฉพาะคะแนนการเดินแปลง ถ้าฝ่ายใดมีคะแนนสูงกว่าให้เป็นผู้ชนะ

         4. ถ้าคะแนนยังเท่ากันอีก ให้ครองตำแหน่งร่วมกัน และให้เลื่อนคะแนนรองขึ้นมาเรียงลำดับ 1 หรือ 2 หรือ 3 ต่อไป

คะแนนรวมของทีม

         ให้นำผลการแข่งขันของนักกีฬาภายในทีมที่ชนะ ที่ 1-2-3 ในแต่ละชนิดอาวุธมารวมกัน โดยคิดคะแนนดังนี้      


         - ชนะเลิศ ได้ 5 คะแนน

         - รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้ 3 คะแนน

         - รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้ 1 คะแนน

         ทีมใดมีคะแนนรวมมากที่สุด เป็นทีมที่ชนะ


 

อาวุธกระบี่กระบอง

กระบี่

เป็นอาวุธที่ใช้ในการฟันและแทง ทำด้วยเหล็กอย่างดี มีลักษณะแบนปลายแหลม ใช้ในการต่อสู้บนพื้นดิน

ดาบ

เป็นอาวุธที่ใช้ในการฟันและแทง ทำด้วยเหล็กอย่างดี มีรูปแบนและปลายโค้ง มีน้ำหนักมากกว่า กระบี่ ใช้ในการต่อสู้บนพื้นดิน

ง้าว

เป็นอาวุธยาวใช้สำหรับการฟันและการแทง ง้าวตัวดาบทำมาจากเหล็ก มีรูปแบนปลายโค้งเหมือนดาบแต่สั้นกว่าดาบ ส่วนด้ามจับทำจากไม้ที่มีขนาดยาว มักใช้สำหรับต่อสู้บนหลังช้าง

พลอง

หรือที่เรียกว่า สี่ศอก เป็นอาวุธยาวใช้สำหรับตี

ดั้ง

เป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องกัน ทำจากหนังสัตว์ หรือ หวายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะโค้งเหมือนกับชั้นเส้นใยของลำต้นของต้นกล้วย

เขน

เป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องกัน ทำมาจากหนังสัตว์ ที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า

โล่

เป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องกัน ทำมาจากหนังสัตว์ หรือ โลหะ มีลักษณะกลม โค้งนูนตรงกลาง


 

ความเป็นมาของกระบี่กระบอง

ชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการต่อสู้ศึกสงครามเพื่อป้องกันประเทศ รักษาความเป็นเอกราชของแผ่นดินที่ยาวนานชนชาติหนึ่ง คนไทยในยุคแรก ๆ ที่เริ่มก่อตั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิแหลมทองมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษในยุคดังกล่าวได้อาศัยสติปัญญา ความกล้าหาญ และใช้อาวุธนานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นและกองทัพเข้าต่อสู้ป้องกันมาโดยตลอด เริ่มจากกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ชาติไทยเป็นชาติที่รักสงบมากกว่าที่จะคิดเบียดเบียนใคร ความที่เป็นชาติที่รักสงบจึงมักถูกรังแกอยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้คนในชาติสมัยก่อนต้องดิ้นรนช่วยตัวเองทั้งชายและหญิง บรรดาทหารกล้าตลอดจนชาวบ้านต่างฝึกฝน เสาะหาเรียนวิชาฟันดาบ และการต่อสู้ด้วยอาวุธนานาชนิด จึงเกิดมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ จนถึงขั้นประลองฝีมือ

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

กระบี่กระบอง


กระบี่กระบอง เป็นกีฬาที่เราไม่ค่อยจะคุ้นหูกันซักเท่าไหร่นัก อาจเพราะไม่มีการแข่งขันในระดับสากล แต่คุณรู้หรือไม่ว่ากระบี่กระบองนี้เป็นกีฬาที่มีมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นการนำเอาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้ว...อ่านเพิ่มเติม